วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
หมายถึง
        โลกปัจจุบันเป็นสังคมข่าวสารข้อมูล เปรียบเสมือนโลกเป็นหมู่บ้านเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งที่คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วทั่วถึงภายในพริบตา เทคโนโลยีการศึกษาจำเป็นต้องทราบถึงโทรคมนาคมเพื่อนำมาใช่ในการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาทางไกลที่ต้องใช้เทคโนโลยีและระบบการสื่อสารโทรคมนาคมช่วยในการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆ
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
       เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนศักยะภายและสมรรถนะการทำงานในทุกวงการเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในในการศึกษาจะเรียกว่าเทคโนโลยีการศึกษาโดยเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยลักษณะต่างๆของการสื่อสารผู้สอนสามารถนำการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ ทำให้สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล
การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
1.             การเรียนรู้ (Learning) การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
2. การสอน (Instruction) หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรม



สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)
       สื่ออาจมีหลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะ แม้แต่สื่อประเภทเดียวกัน ก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ภาพยนตร์ มีทั้งขนาด 8 16 และ 35 มิลลิเมตร เทปคาสเสทก็เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสื่อเกี่ยวกับเสียง และสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อในรูปแบบของภาษา เป็นต้น วัสดุ  หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นชิ้นหรือเป็นอัน เมื่อนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน อาจเรียกว่า วัสดุการสอนหรือวัสดุการเรียนการสอน โสตทัศนวัสดุ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมต่างๆ (หรือประสบการณ์ทางการศึกษา) ทั้งหลายที่จัดขึ้นมา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส สรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ครูและผู้เรียนนำมาใช้ในระบบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สารคือ   ในกิจกรรมการเรียนการสอนใดๆ ก็ตาม ย่อมมีสาร หรือเนื้อหาสาระในการสื่อสารการสอน ซึ่งสารดังกล่าวอาจจะเป็นเนื้อหาวิชา แนวทางการศึกษาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คำถามเกี่ยวเรื่องที่ศึกษาคำตอบ หรือคำอธิบายรวมทั้งข้อมูล
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
           ผู้สื่อ (Source, Sender หรือ Encoder)
           ผู้รับ (Receiver หรือ Decoder)
           สาร (Messages)
ปัญหาการสื่อสาร      ปัญหาการสื่อสารส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านจิตวิทยา เช่น ปัญหาเกี่ยว กับผู้รับไม่สนใจ ไม่ยอมรับรู้ ผู้สื่อสารชอบใช้ภาษาพูด (Verbal ism) ส่วนปัญหาด้านกายภาพ เช่น ความไม่สะดวก และความห่างไกลจากแหล่งความรู้ก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในกระบวนการสื่อสารถ้านำสื่อต่างๆ เข้ามาใช้ก็จะสามารถลดปัญหาต่างๆ
การนำสื่อโสตทัศน์ทั้งหลายมาใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารและการเรียนการสอน
      สิ่งเหล่านั้นเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งเป็นผลิตผลของเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนมีความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งไปกว่าการสื่อสาร เทคโนโลยีในฐานะที่เป็นวิธีการหรือกระบวนการ จึงเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆ ทางการสอนในปัจจุบันได้


เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอน
         เทคโนโลยีการสอนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนและก่อให้เกิดวิธีหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า นวัตกรรมการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ เช่น การสอนแบบโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสอนโดยใช้ระบบเสียง การสอนแบบโมดุล เกมและสถานการณ์จำลอง เป็นต้น เทคโนโลยีการสอนบางลักษณะจึงเป็นการใช้สื่อโสตทัศน์และหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ต่างๆ ร่วมกันในลักษณะของสื่อประสม แต่เทคโนโลยีการสอนจะมีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างไปจากการใช้สื่อการเรียนการสอนแบบธรรมดา กล่าวคือ เทคโนโลยีการสอน จะเน้นผู้เรียนและกระบวนการเรียนการสอน และยึดหลักการเรียนรู้
         บทเรียนโปรแกรมเป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีการสอน
        บทเรียนโปรแกรมเป็นตัวอย่างที่ดีของเทคโนโลยีการสอน บทเรียนโปรแกรมยึดหลักการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยจัดบทเรียนเป็นขั้นตอนสั้นๆ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับทุกขั้นตอนการเรียนและได้รับการเสริมแรง เมื่อตอบสนองถูกต้อง การเสริมแรงและข้อมูลย้อนกลับเป็นผลแห่งความรู้ หรือเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาในตัวผู้เรียนนั่นเองการสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมหรือการสอนแบบโปรแกรม จึงเป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนไม่ใช่ผู้เรียนรอรับความรู้แต่เพียงอย่างเดียวอาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีการสอนได้พัฒนามาจากทฤษฎีการเสริมแรง ซึ่งทฤษฎีการเสริมแรงนี้ จัดว่าเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่ก่อให้เกิดเทคโนโลยีการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ
บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน
1. ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด
มาใช้เพื่อช่วยการสอน การใช้สื่อในลักษณะนี้จะช่วยให้การสอนสัมฤทธิ์ผลถ้าครูจะนำสื่อมาใช้ช่วยในการสอน ครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการสอนและเทคนิคต่างๆ ในการใช้สื่อ
2. สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติเป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู เช่น การใช้ห้องปฏิบัติการทางภาษา การเรียนจากบทเรียนโปรแกรม
3.ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะเฝ้าสังเกตภาพและเนื้อหา จนสามารถค้นพบข้อสรุปหรือหลักการ
4. สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นสื่อและเทคโนโลยี จึงทำให้บทบาทของครูเปลี่ยนไปจากการเป็นผู้บอกความรู้ มาเป็นผู้จัดการและร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้สามารถ จัดรูปแบบการเรียนการสอนขึ้นมาหลายลักษณะ
5. สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกกัตบุคคล การสอนแบบเอกกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู
6. ช่วยการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้
7. สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา
ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน
       ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบประเภท และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน
การสื่อสารในห้องเรียน
        ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดีปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว 
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
อุปกรณ์สื่อสาร
     หมายถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างจุดส่งและจุดรับ โดยที่แต่ละจุดจะต้องมีเครื่องมือสื่อสารซึ่งมีทั้งเครื่องรับอยู่ภายในเครื่องเดียวกัน
อุปกรณ์สื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
- โมเด็ม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาณอนาล็อก เป็นการแปลงสัญญาณอนาล็อก
- เคเบิลโมเด็ม เป็นโมเด็มใช้รับส่งข้อมูล เป็นเครือข่ายโทรทัศน์
- อุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ใช้รวมส่งสัญญาณเพื่อให้เป็นสายข้อมูลเดียวกันและส่งผ่าน ไปได้ บนสายส่งเส้นเดียว
- แผ่นวงจรต่อประสานเครือข่าย เป็นแผ่นวงจร ต่อขยายที่เสียบในช่องเสียบของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น
- การใช้โปรแกรมและข้อมูลรวมกัน ผู้ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถใช้ซอฟแวร์ โปรแกรมและได้รับข้อมูล เดียวกันได้โดยสะดวกรวดเร็ว
- การใช้บริภัณฑ์ร่วมกัน สถาบันและองค์กรในเครือข่าย จนสามารถประหยัดงบประมาณในการซื้อปริมาณรอบข้าง
- สะดวกในการสื่อสาร ด้วยการใช้อีเมลช่วยในการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก
เทคโนโลยีการสื่อสารและการสื่อสารโทรคมนาคม
         ด้วยการพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ปัจจุบันก้าวไปสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือเรียกอย่างย่อว่า ยุคไอซีทีจึงทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญยิ่งในเทคโนโลยีการศึกษาเนื่องจากความเอื้อประโยชน์หลายประการ
1.             การเปลี่ยนการสอนของครุผู้สอน
2. การเปลี่ยนวิธีการเรียนของผู้เรียน
3. การเรียนอย่างกระตือรือร้น
4. วิธีการส่งบทเรียน
5. เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียน
6. เป็นแหล่งข้อมูลอันกวางขวาง
7. สะดวกในการบริหารจัดการ

 ความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา
         ขาดความเข้าใจและความสมเหตุสมผลในการใช้ เช่น หน่วยงานจัดซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเกินกว่างานที่จำเป็นมาใช้หรือซื้อเครื่องใหม่มาแทนเครื่องเดิม แม้ว่าเครื่องเดิมยังใช้งานได้ แต่ซื้อด้วยเหตุผลคือต้องการเครื่องที่ทันสมัย ดังนั้นการมีคอมพิวเตอร์ใช้ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน              ขาดความรู้ในการใช้งาน เช่น บุคลากรในสถานศึกษาขาดความรู้ในการใช้งาน ไม่กล้าใช้ สถานศึกษาควรพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการใช้งานให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา    ขาดการบำรุงรักษา เช่น ไม่บำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หรือไม่ได้ตั้ง งบประมาณบำรุงรักษา จึงควรตรวจสภาพเครื่องให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาเพื่อความคุ้มทุน   ขาดการพัฒนารูปแบบการใช้งานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การพัฒนาฐานข้อมูล การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาถึงความคุ้มทุนต่อการพัฒนา   ขาดการยอมรับจากผู้บริหารหรือผู้ร่วมงาน เช่น เมื่อหน่วยงานนำเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารมาใช้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นเพราะกลัวตกงาน